สปสช.เตรียมแจ้งความดำเนินคดีผู้ใช้ Line @Checksith แอบอ้างหน่วยงานรัฐ-หลอกดึงข้อมูลส่วนบุคคล
สปสช.เตรียมแจ้งความดำเนินคดีผู้ใช้ Line @Checksith แอบอ้างหน่วยงานรัฐ-หลอกดึงข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมประสาน "ไลน์ ประเทศไทย" ให้ระงับการใช้แล้ว เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ แนะเช็คสิทธิหลักประกันสุขภาพ ผ่าน 4 ช่องทางสื่อสารทางการของ สปสช.
"ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ" รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และโฆษก สปสช. เปิดเผยถึงกรณีที่มีผู้ใช้ช่องทางแอปพลิเคชั่น Line บัญชี @Checksith แอบอ้างว่าเป็นบริการค้นหาสิทธิหลักประกันสุขภาพ และอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ก่อนการนำส่ง จึงขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ Line แอบอ้างตรวจสอบสิทธินี้ . สำหรับบัญชี Line ดังกล่าว ได้แอบอ้างหน่วยงานรัฐเพื่อหลอกดึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน โดยให้กรอกเลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก ซึ่งขณะนี้ทาง สปสช. ได้มีการประสานไปยังบริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้ระงับการใช้งาน Line @Checksith ดังกล่าวแล้ว พร้อมกันนี้ทางสำนักกฎหมายของ สปสช. ยังได้เตรียมที่จะแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างดังกล่าวด้วย . ทพ.อรรถพร ย้ำเตือนกับประชาชนว่า สปสช. ไม่เคยมีการสื่อสารใดๆ ผ่านช่องทางนี้ ซึ่งในกรณีที่ประชาชนต้องการที่จะตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพของตนเอง สามารถดำเนินการได้ผ่าน 4 ช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นทางการ ที่ดำเนินการโดย สปสช. . ประกอบด้วย 1. สายด่วน สปสช. 1330 กด 2 ตรวจสอบสิทธิ บริการตลอด 24 ชั่วโมง 2. เว็บไซต์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ www.nhso.go.th คลิกตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพ 3. Line @สปสช และ Line @ucbkk สร้างสุข และ 4. แอปพลิเคชัน สปสช. ดูน้อยลง
Relate topics
- ร้อง “วิษณุ” สอบบิ๊กกองทุนสื่อฯ เตะถ่วงภาค ปชช.รู้ทันสื่อ
- กรมการขนส่งทางบก เผย ประชาชนที่ได้รับสิทธิตามโครงการ “เราชนะ" สามารถใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง"
- เครือข่ายประมงพื้นบ้าน ร้อง Lazada ขายเครื่องมือประมงผิดกฏหมาย
- อย.เผย 6 ปีมีดารานักร้อง นักแสดง ยูทูปเปอร์ รีวิวสินค้าโฆษณาเข้าข่ายผิดกฎหมาย ถูกดำเนินคดีกว่า 230 คน
- บุกทลายโรงงานเครื่องสำอางปลอมยี่ห้อดังพบของกลางนับหมื่นชิ้นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
- จี้พาณิชย์ยกเลิกจดสิทธิบัตรยาโควิด “ฟาวิพิราเวีย” ชี้ไม่ได้อัพเกรดประสิทธิภาพสูงขึ้น
- ผลวิจัยทุก 10 บาทของราคาบุหรี่ที่เพิ่มขึ้น ลดเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันลง 5%
- หมอชี้ไม่มีงานวิจัยยืนยันฉีดวิตามินซีป้องกัน COVID-19
- ข่าวปลอม! ไปรษณีย์ไทย ส่งไฟล์ .exe เพื่อแจ้งสถานะพัสดุ
- 3 ขั้นตอนการยกเลิกหรือเลื่อนเที่ยวบิน